หมวดหมู่
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานโครงการ SHAP พร้อมคณะทำงาน SHAP และเจ้าหน้าที่ สสส. จัดประชุมผ่านระบบ Zoom
วันที่ 21 เมษายน 2564 นางพิมพิชญา การบรรจง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานโครงการ SHAP พร้อมคณะทำงาน SHAP และเจ้าหน้าที่ สสส. จัดประชุมผ่านระบบ Zoom กับ บริษัท กาโตว์เฮ้าส์ จำกัด จังหวัดนครปฐม โดยมีรายละเอียดดังนี้1) ชี้แจงรายละเอียดโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productive Workplace:SHAP)2) รายงานผลสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุขและความผูกพันในองค์กรของคนทำงาน ของ บริษัท กาโตว์เฮ้าส์ จำกัด จังหวัดนครปฐม
22 เม.ย. 2564
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ เซ็นทรัล กรุ๊ป ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่านระบบ zoom
วันที่ 20 เมษายน 2564 กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ เซ็นทรัล กรุ๊ป ประชุมหารือแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่านระบบ zoom โดยมีนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วย คุณชัญญา ปวีณเมธา Relationship Director - Corporate Communications นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร กช.กสอ.โดยเป็นการหารือแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในการหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อดำเนินงานร่วมกัน
22 เม.ย. 2564
ผอ.กช.กสอ.ประชุมเจ้าหน้าที่กองฯผ่านระบบZoom
วันที่ 19 เมษายน 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประชุมเจ้าหน้าที่กองฯผ่านระบบZoom โดยมีรายละเอียด ดังนี้1) เนื่องด้วยภาวะวิกฤตกำหนดการประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการสหกรณ์และสถาบันเกษตรกรในวันที่ 20 เมษายน 2564 จึงได้แจ้งเลื่อนการประชุมฯ ออกไปก่อน2) การจัดประชุมของ กต.กช.กสอ. ร่วมกับ จนท.บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ในวันที่ 20 เมษายน 2564 ผ่านระบบ zoom ยังมีการประชุมตามกำหนดการเดิม3) เป้าหมาย จนท. WFH ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ คือ 70 % จึงขอให้แต่ละกลุ่มงานพิจารณาให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนดไว้4) การดำเนินงานด้านเอกสารการเบิกจ่าย กช.กสอ. ได้มีกำหนดการไว้อาทิตย์ละ 2 วัน คือวันอังคารและวันพฤหัสบดี5) แบบฟอร์มใบรายงานผลการปฏิบัติงาน WFH ให้เริ่มรายงานตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2564 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยขอให้ Admin แต่ละกลุ่มงานช่วยสนับสนุน ต่อไป6) ประเด็นการส่งงวดงานหรือการดำเนินงาน ที่มีผลกระทบจากมาตรการในช่วงวิกฤตนี้ ให้ผู้รับผิดชอบประสานแจ้งที่ปรึกษา เพื่อจัดทำหนังสื่อแจ้งคณะกรรมการพิจารณาและเสนอผู้มีอำนาจลงนาม ต่อไป ในการประชุมฯ มีเจ้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ กช.กสอ. และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom โดย กภ.กช.กสอ. ได้รับมอบหมายให้เป็น Host ในการประชุมครั้งนี้
20 เม.ย. 2564
ผอ.กช.กสอ. เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas : CBMC)"
วันที่ 5 เมษายน 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas : CBMC)" ณ ห้องประชุมจันทน์กะพ้อ โรงแรมจันทิมาบูติก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โดยมีนางสาวจินดา ธนาดำรงค์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV ให้มีแนวทางและแผนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ตลอดจนมีแผนในการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด- 19 และสามารถขยายเครือข่ายการเชื่อมโยงกับหน่วยอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 เมษายน 2564 มีผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV เข้าร่วมจำนวน 12 ชุมชน/40 คน
07 เม.ย. 2564
กช.กสอ.ยกระดับการผลิตด้วยมาตรฐาน เชื่อมโยงเทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค เพิ่มโอกาสการแข่งขันให้ผู้ประกอบการชุมชน
วันที่ 31 มีนาคม 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายชิ้นชัย จงสุขไกล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ เป็นประธานตรวจรับการดำเนินกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกยกระดับการผลิตด้วยระบบคุณภาพ มาตรฐาน นวัตกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 25 ราย ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ประกอบด้วย นายพนมไพร สายบัว เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ชำนาญงาน และ นายสุรพงษ์ ตันติอธิมงคล ผู้สอนงานเครื่องปั้นดินเผา ระดับ ช 2 ณ ห้องประชุมกลุ่มพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชุมชน ชั้น 2 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) กิจกรรมยกระดับการผลิตด้วยระบบคุณภาพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการผลิตให้กับ วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ผู้ประกอบการที่มีการผลิตขนาดเล็กในรูปแบบหัตถกรรม เพื่อให้มีมาตรฐานและคุณภาพด้านการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามมาตรฐาน อย., มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจต่อผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความพร้อมในการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อลดต้นและของเสียจากกระบวนการผลิต สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ มุ่งหวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการชุมชนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป
01 เม.ย. 2564
ผอ.กช.กสอ.เป็นประธานการประชุมเพื่อชี้แจงการจัดสรรงบประมาสในไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2564
วันที่ 31 มีนาคม 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานการประชุมเพื่อชี้แจงการจัดสรรงบประมาสในไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2564 ร่วมกับผอ.กลุ่มงาน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ และหน่วยงานภูมิภาค ผ่านระบบ zoom ณ ห้องประชุมกระจูด ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) มีผู้เข้าร่วมประชุม 22 คน
31 มี.ค. 2564
ผอ.กช.กสอ.เป็นประธานการประชุมผอ.กลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ
วันที่ 30 มีนาคม 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นประธานการประชุมผอ.กลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการ ณ ห้องประชุมกระจูด ชั้น 3 อาคารกรงส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) ในประเด็น ดังนี้ 1. งบประมาณที่ได้รับจัดสรรในไตรมาสที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2. การประเมินผลการปฎิบัติราชการ 3. การจัดงาน OTOP 4. งานสื่อสัญจร จังหวัดอุดรธานี
30 มี.ค. 2564
ผอ.กช.กสอ. (กรรมการและเลขานุการมูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ดำเนินการประชุมสามัญประจำปี 2564 คณะกรรมการมูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (กรรมการและเลขานุการมูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ดำเนินการประชุมสามัญประจำปี 2564 คณะกรรมการมูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย โดยได้รับเกียรติจาก นาย มนู เลียวไพโรจน์ (อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม) เป็นประธานในการจัดการประชุมครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ซึ่งการประชุมมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - การสืบทอดครูช่างหัตถศิลป์ไทยไม่ได้รับความสนใจจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ เนื่องจากไม่สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอ ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีแนวทางการแก้ปัญหาโดยการมองภาคตลาดนำการผลิต การผนวกครูช่างศิลป์เข้ากับมหาวิทยาลัย รวมทั้งการทำ Fusion งานหัตถศิลป์ไทยอันทรงเกียรติกับยุคสมัยในปัจจุบัน ให้เกิดความร่วมสมัยทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเยาวชนในการช่วยสานต่องานหัตถศิลป์ไทยและตอบโจทย์ผู้บริโภค - การนำครูช่างหัตถศิลป์ไทยไปให้ความรู้โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับกรมราชทัณฑ์ เพื่อสร้างอาชีพและยกระดับรายได้ให้กับผู้ต้องขัง - การเชื่อมโยงงานหัตศิลป์ไทยกับภาคธุรกิจเพื่อผลักดันงานหัตถศิลป์ไทยไปยังระดับโลกและเพิ่มมูลค่าของชิ้นงานให้เป็นระดับ Premium หรือ การนำงานหัตถศิลป์ไทยไปผนวกกับการทำของที่ระลึก เพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนภาคการท่องเที่ยว - นำช่องทาง Online มาใช้ในการประชาสัมพันธ์งานหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างและเป็นที่รู้จักในระดับโลกต่อไป ในการประชุมดังกล่าวได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิด้านหัตถศิลป์ไทย 4 ท่าน เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 24 คน
30 มี.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล”’ นำทีมดีพร้อมลงพื้นที่เยี่ยมชมอัตลักษณ์และภูมิปัญญาขึ้นชื่อคนเมืองคอน
วันที่ 25 มีนาคม 2564 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชริน ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กสอ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านวังม่วง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นางมณฑา กังวาลก้อง หัวหน้ากลุ่มวิสากกิจชุมชนฯ ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านวังม่วง เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักสานจากย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเถาวัลย์ (ภาษาท้องถิ่น ภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลําต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนํามาจักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ ต่าง ๆ และเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน และสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยเริ่มทำมาตั้งแต่รุ่นของคุณพ่อคุณแม่และสืบทอดมาปัจจุบันรุ่นที่ 3 ภายใต้แบรนด์ “ลิเภามณฑา” โดยทุกชิ้นงานจะมีความละเอียดเป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีรูปทรงทั้งแบบโบราณและแบบร่วมสมัย ทุกผลิตภัณฑ์จะถูกทำออกมาด้วยมือ ไม่มีการใช้เครื่องจักร หรือเรียกว่าเป็นงานแฮนด์เมด (Hand made) ดังนั้น “ผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาของ ลิเภามณฑา จึงมีเครื่องการันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาว และช่างหัตศิลป์ไทยยอดเยี่ยม กลุ่มงานเครื่องจักสาน นอกจากนี้ ยังมีส่งออกผลิตภัณฑ์ไปตลาดต่างประเทศและมีผู้มารับผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่อที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน ในปัจจุบันได้มีการนำศิลปหัตถกรรมประเภทประณีตศิลป์อย่างเครื่องถมมาผสมผสานกับย่านลิเภาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาที่มีฝาปิดเป็นเครื่องถม โดยเลือกใช้ถมทองมาประยุกต์ให้กับย่านลิเภาทำให้มีผู้ที่ให้ความสนใจ ตลอดจนทางวิสาหกิจชุมชนฯ ได้มีการหันมาทำเครื่องถมเป็นเครื่องประดับเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มอีกด้วยทั้งนี้ ที่ผ่านมากลุ่มวิสาหกิจฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กับทาง กสอ. และมีความต้องการให้ทาง กสอ. เข้ามาช่วยเหลือด้านเงินทุนหมุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อนำไปปรับปรุงสถานประกอบการและลงทุนขยายกิจการเพิ่มเติมต่อไป
26 มี.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” บินตรงเมืองคอน ชมต้นแบบชุมชน CIV พร้อมดึงนักศึกษาต่อยอดอัตลักษณ์วิถีถิ่นเชื่อมโยงการท่องเที่ยวผ่านพลังโซเชียลมีเดีย
วันที่ 25 มีนาคม 2564 นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลให้แก่นักศึกษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากการจัดทำวิดีทัศน์การท่องเที่ยวตามวิถีท้องถิ่น และกล่าวแสดงความยินดี พร้อมทั้งเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จำนวน 16 กลุ่ม ร่วมด้วย นายวัชริน ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดร.สุดาวรรณ์ มีบัว คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ดำรงพันธ์ ใจห้าววีระพงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา การะกร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้แทนหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ นิสิต นักศึกษา ผู้นำชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์บ้านหน้าทัพ และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน โดยมี นายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตาบลท่าศาลา กล่าวต้อนรับ และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. กล่าวรายงาน ณ ชุมชนบ้านหน้าทัพ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมการจัดทำวิดีทัศน์การท่องเที่ยวตามวิถีท้องถิ่น จัดขึ้นภายใต้ โครงการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างการรับรู้และความสนใจเรื่องการท่องเที่ยวตามวิถีท้องถิ่นของแต่ละชุมชน โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการคัดเลือกชุมชนเป้าหมายจากหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือหมู่บ้าน CIV ที่ได้รับการพัฒนามาแล้วในระดับหนึ่ง จำนวน 11 ชุมชน ทั่วประเทศ และร่วมมือกับทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในพื้นที่ จำนวน 11 แห่ง เพื่อสร้างแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาชุมชน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนได้ต่อไป โดยทีมนักศึกษาได้คัดเลือกชุมชนที่เป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและจัดทำคลิปวิดีทัศน์ประชาสัมพันธ์ชุมชน กิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนแบบ One Day Trip และกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยการนำวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ รวมถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ นักศึกษาของแต่ละสถาบันการศึกษาที่มาร่วมพัฒนาชุมชนเป้าหมายที่กำหนดผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งวิดีทัศน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วิดีทัศน์ชุมชนบ้านหน้าทัพ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดทำโดยทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มียอดผู้ชมทั้งสิ้น 2,000 ครั้ง 113 Like และยอดการแชร์ 66 ครั้ง จากกิจกรรมข้างต้น คาดว่าจะทำให้การดำเนินธุรกิจของชุมชนบ้านหน้าทัพมีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดรายได้ ต่อยอดธุรกิจจนประสบความสำเร็จ และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากต่อไปในอนาคต
26 มี.ค. 2564