วันที่ 14 - 20 มีนาคม 2564 นางรัตนาภรณ์ พึ่งบุญไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่ฯ ลงพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม มุกดาหาร สกลนคร นครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ ภายใต้การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่สากล (พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ปีงบประมาณ 2564 โดยได้เข้าพบนางสาวรัชฎา เมธาวีกุลชัย อุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามและอื่นๆ เนื่องจาก จังหวัดสกลนคร เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีสินค้า GI มากที่สุดในประเทศ โดยได้สำรวจความต้องการและความพร้อมของวิสาหกิจชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมฯ ซี่งสรุปรายละเอียดของวิสาหกิจชุมชน ดังนี้
1) อาชีพหลักของราษฎรคือการเกษตรกรรม
2) อาชีพเสริมคือการทอผ้า ตัดเย็บเสื้อชุมชน เย็บตุ๊กตาผ้าเช็ดมือ แปรรูปสินค้าเกษตร
3) มีความต้องการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มเติมดังนี้
- ต้องการวิทยากรถ่ายทอดความรู้ทักษะการตัดเย็บเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภ้ณฑ์เดิม
- ต้องการให้มีกิจกรรมสัญจรนำผู้ซื้อลงพื้นที่ ณ แหล่งผลิตมากกว่าการนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในงานนิทรรศการฯ ทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคเรียนรู้วิถีชุมชนและเห็นคุณค่าผลงานของชุมชน
4) สรุปผลการวิเคราะห์ภาพรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (swot)
S : สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคีช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี
- มีจำนวนปราชญ์ชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีประสบการณ์ในการใช้การสังเกตลวดลายผ้าจนสามารถนำมาใช้มัดหมี่ตามลวดลายนั้นได้ รวมถึงความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิก
W : - ร้อยละ 80 ของสมาชิกกลุ่มมีอายุมากกว่า 60 ปี มีข้อจำกัดทางสุขภาพที่เป็นไปตามวัย มีทายาทผู้สืบทอดในชุมชนเพียงกลุ่มละ 1 - 2 ราย
O : - มีลายพระราชทาน (ลายสิริวัณวรี) ที่ปัจจุบันมีความต้องการสูงและมีราคาจำหน่ายสูงกว่าลวดลายอื่นๆ 1 - 2 เท่า
- มีนโยบายจังหวัดให้หน่วยงานในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน สวมใส่ผ้าไทยซึ่งคณะทำงานมีความเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะสร้างโอกาสสนับสนุนให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายในองค์กรได้
T : - มีสินค้าทดแทนที่มีราคาต่ำกว่าจากประเทศจีน