อธิบดีกอบชัยฯ ร่วมหารือเอกชนภาคใต้ พร้อมเตรียมนำเสนอเรือธงเข้าที่ประชุม ครม.สัญจร​ จ.ชุมพร


20 ส.ค 2561    adminbcid    3

วันที่ 19 สิงหาคม 2561
      นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมหารือกับภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อรับทราบความต้องการและแนวทางการพัฒนา
เรือธง Flagship ของพื้นที่ เพื่อนำเสนอในที่ประชุม ครม.สัญจร จังหวัดชุมพร ต่อไป  โดยมีประเด็นหารือ ดังนี้
1. แนวการการส่งเสริมยางพาราอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การตั้งนิคมอุตสาหกรรมไม้ยางพาราในจังหวัดตรัง ซึ่งควรเชื่อมโยงกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเข้ามาช่วยศึกษาความเป็นไปได้ 2) การจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้วัสดุเหลือใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม 3) การบริหารจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนและมีมาตรฐาน ซึ่งภาคเอกชนมีความต้องการให้เปิดกว้างและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ 4) ความต้องการสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มีกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และเงินทุนหมุนเวียนฯ ที่ให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี กสอ. รวมถึงธนาคารของภาครัฐและเอกชนที่มีสินเชื่ออีกหลายแพ็กเกจที่จะเข้ามาช่วยในอนาคต 5) การตัดโค่นไม้ยางให้ได้ 8 แสนไร่ต่อปี ซึ่งทาง กสอ. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังมีข้อเสนอแนะการขอรับความช่วยเหลือเพื่อยกระดับยางพาราครบวงจร อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพยางพารา การแปรรูปผลผลิต การเพิ่มผลิตภาพ การขออนุญาตจากกรมป่าไม้ รวมถึงการขอให้รัฐยกเลิก พรบ. การเคลื่อนย้ายเครื่องยนต์ตัดเลื้อย และการจัดตั้งตลาดราคากลางไม้ยางพารา ส่วนด้วนวัตถุดิบต่าง ๆ ภาคเอกชนได้?ขอให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องการควบคุมราคาให้มีความเหมาะสม การส่งเสริมให้ใช้ไม้ยางแปรรูปมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการได้รับผลกระทบจากประเทศจีนที่เป็นผู้กำหนดราคา? ทำให้ผู้ประกอบการเกิดภาวะขาดทุนจากการกดราคา จึงมีความต้องการให้ภาครัฐเข้าช่วยเหลือในส่วนนี้ด้วย
2. แนวทางการส่งเสริมสมุนไพรในพื้นที่ ซึ่งทางภาคใต้นับว่ามีขมิ้นชันที่ดีที่สุดในประเทศไทย แต่ยังคงขาดการส่งเสริมมาตรฐานการปลูก เป็นเหตุให้
ถูกกดราคาจำหน่ายเพราะยังไม่มีการรับรองมาตรฐานสากล รวมถึงการขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และการแปรรูปที่มีมาตรฐาน จึงขอให้หน่วยงานรัฐเข้ามาช่วยด้านการสร้างโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐาน GMP การผลักดันให้มี อย. ในทุกผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ยังมีความต้องการส่งเสริมในด้านการตลาด โดยการจัดตั้งตลาดกลาง รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำด้วย ทั้งนี้? ปัจจุบันเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร จ.สุราษฎร์ธานี มีจำนวน 38 กลุ่ม? มีสมาชิกกว่า 300 คน
โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับเรื่องและวางกรอบแนวทางให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ รวมถึงจะนำข้อเสนอแนะเข้าที่ประชุมครม. เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมต่อไป