โครงการ SHAP กช.กสอ. นำทีม SHAP AGENT มอบความสุขและห่วงใยสุขภาพเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. จัดกิจกรรมลดอายุร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี "Body Age Challenge" ลดวัย ลดโรค
  วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566นางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รก.ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงานโครงการ SHAP กช.กสอ. นำทีม SHAP AGENT มอบความสุขและห่วงใยสุขภาพเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. จัดกิจกรรมลดอายุร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี "Body Age Challenge" ลดวัย ลดโรค เชิญชวนมาเริ่มต้นใส่ใจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ร่างกายทำงานอย่างเต็มที่ มีสุขภาพแข็งแรงอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานหลักการ 3 อ. คือ ควบคุมการกินอาหาร ใส่ใจการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาอารมณ์ให้สดใสไม่เครียด รวมถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยมีรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถลดอายุร่างกายได้มากที่สุด รวม 6 รางวัลตัดสินผล ครั้งที่ 1วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567ตัดสินผล ครั้งที่ 2วันที่ 1 กรกฎาคม 2567
01 พ.ย. 2566
โครงการ SHAP กช.กสอ. นำทีม SHAP AGENT แจกความสุข ด้วยกระปุกออมสิน HAPPY MONEY ให้คำแนะนำวิธีการออมเงิน วันที่ 31 ตุลาคม 2566 (วันออมแห่งชาติ)
วันที่ 31 ตุลาคม 2566(วันออมแห่งชาติ) นางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รก.ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงานโครงการ SHAP กช.กสอ. นำทีม SHAP AGENT แจกความสุข ด้วยกระปุกออมสิน HAPPY MONEY ให้คำแนะนำวิธีการออมเงิน และจัดบอร์ดนิทรรศการการออมเงินตามโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ กช.กสอ. รู้จักการออม ฝึกนิสัยรักการออม ใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม ประหยัด นำไปสู่อนาคตที่มั่นคง ไม่เป็นหนี้สิน มีเงินเก็บสะสมในอนาคตและสำรองไว้ใช้จ่ายในยามจําเป็นตามหลักการ HAPPY 8 โดยเริ่มกิจกรรมออมเงินตั้งวันที่ 31 ตุลาคม 2566 จนถึง 31 กรกฎาคม 2567
31 ต.ค. 2566
ประชุมการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace: SHAP)
วันที่ 25 ตุลาคม 2566 นายชิ้นชัย จงสุขไกล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการผลิตอุตสาหกรรมชุมชน รองประธานคณะทำงาน SHAP พร้อมด้วยคณะทำงาน SHAP Agent กช.กสอ. ร่วมประชุมการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace: SHAP) เพื่อวางแผนและเตรียมงานการดำเนินงานในขั้นตอนกระบวนการ ดังนี้1. การเข้าเยี่ยมสถานประกอบการ เพื่อดำเนินการวัดความสุข HAPPY-METER2. การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)3. การประกาศนโยบาย“องค์กรแห่งความสุข”4. การประกาศแต่งตั้งคณะทำงานสร้างสุของค์กร ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ผู้จัดการโครงการ SHAP ให้คำปรึกษา ข้อแนะแนวทาง และชี้แจงขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน ได้แก่1. การสร้างองค์กรแห่งความสุข HAPPY WORKPLACE2. มาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (มอส.)3. หลักการ Happy 84. การวัดความสุข HAPPY-METER5. แนวทาง 12 เมนูสร้างสุข
31 ต.ค. 2566
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน จับมือ TOYOTA เดินหน้ายกระดับธุรกิจชุมชนด้วยแนวคิดธุรกิจระดับโลก
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน จับมือ TOYOTA เดินหน้ายกระดับธุรกิจชุมชนด้วยแนวคิดธุรกิจระดับโลก กรุงเทพฯ : วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วยทีม DIPROM ส่วนกลาง และ DIPROM CENTER 1, 2, 3, 4 และ 10 ร่วมประชุมหารือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งนำเสนอผลการคัดเลือกผู้ประกอบการชุมชนเข้าร่วมโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ จากการลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพร่วมกัน โดยครั้งนี้ได้คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 2 ราย ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะม่วงสวนลุงบุญสม บ้านผารังหมี ผลิตภัณฑ์มะม่วงกวน จ.พิษณุโลก 2) วิสาหกิจชุมชนเพ็ชรคีรีโฮมสเตย์ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากเปลือกมังคุด จ.นครศรีธรรมราช ทั้งนี้ TOYOTA ได้หารือ DIPROM ถึงแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น 9 ชุมชน ในพื้นที่ จังหวัดน่าน, แพร่, พิษณุโลก, บุรีรัมย์, อุดรธานี, ราชบุรี, สตูล และนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ TOYOTA ได้นำเสนอแนวคิดกิจกรรม Plublic Training ที่จะผสานพลังกับ DIPROM เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชุมชนทั่วประเทศได้รับความรู้เพื่อใช้ในการจัดทำแผนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนเองโดยจะร่วมกันผลักดันให้เกิดยกระดับศักยภาพธุรกิจชุมชนทั่วประเทศต่อไป
26 ต.ค. 2566
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เล็งผลักดันสินค้าชุมชนดีพร้อม Season 1 เชื่อมโยงธุรกิจโรงแรม หวังใช้อัตลักษณ์ไทยดึงเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เล็งผลักดันสินค้าชุมชนดีพร้อม Season 1 เชื่อมโยงธุรกิจโรงแรม หวังใช้อัตลักษณ์ไทยดึงเงินนักท่องเที่ยวต่างชาติ กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ อ่างทอง : วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ลงพื้นที่ “อินโตฟาร์ม” อ.แสวงหา จ.อ่างทอง หนึ่งในผู้ประกอบการ Hero ดีพร้อม จากชุมชนดีพร้อม Season 1 ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาจาก กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในปีที่ผ่านมา ซึ่งประกอบกิจการฟาร์มเมล่อน แปรรูปเมล่อน และเป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกรในชุมชน นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 20 ปี ผลิตผลิตภัณฑ์จักสานเส้นพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ “San Silp” จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างงานและจ้างงานที่สำคัญในชุมชน โดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ต้องการเพิ่มโอกาสทางการตลาด โดยจะเชื่อมโยงธุรกิจนี้เข้ากับธุรกิจโรงแรมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งมีความต้องการสินค้าชุมชนไปเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่มาเข้าพัก และพร้อมจำหน่ายด้วย ซึ่งงาน “จักสาน” เป็นอัตลักษณ์สำคัญของไทยที่แสดงถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา และในอนาคตอาจเชื่อมโยงเข้ากับการยกระดับ Soft Power ของประเทศ ที่จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากได้อย่างยั่งยืน
20 ต.ค. 2566
คณะทำงาน SHAP AGENT กช.กสอ. ดำเนินการตรวจวัดสุขภาพร่างกายของเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. ในกิจกรรมสร้างสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM
นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ที่ปรึกษาโครงการ SHAP พร้อมด้วยนางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงาน นำทีมคณะทำงาน SHAP AGENT กช.กสอ. ดำเนินการตรวจวัดสุขภาพร่างกายของเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. ในกิจกรรมสร้างสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM ได้แก่ สถานีที่ 1 วัดส่วนสูง สถานีที่ 2 ทดสอบความยืดหยุ่น สถานที่ 3 วัดเส้นรอบพุง สถานที่ 4 วัดความดันโลหิต สถานีที่ 5 ชั่งน้ำหนัก พร้อมให้ร่วมประเมินพฤติกรรมสุขภาพองค์กรวัยทำงาน ตามแบบคัดกรองพฤติกรรมวัยทำงาน THW01 เพื่อประเมินและวิเคราะห์ผลต่อไป
18 ต.ค. 2566
คณะทำงาน SHAP AGENT กช.กสอ. ดำเนินการตรวจวัดสุขภาพร่างกายของเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. ในกิจกรรมสร้างสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM
นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ที่ปรึกษาโครงการ SHAP พร้อมด้วยนางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงาน นำทีมคณะทำงาน SHAP AGENT กช.กสอ. ดำเนินการตรวจวัดสุขภาพร่างกายของเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. ในกิจกรรมสร้างสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM ได้แก่ สถานีที่ 1 วัดส่วนสูง สถานีที่ 2 ทดสอบความยืดหยุ่น สถานที่ 3 วัดเส้นรอบพุง สถานที่ 4 วัดความดันโลหิต สถานีที่ 5 ชั่งน้ำหนัก พร้อมให้ร่วมประเมินพฤติกรรมสุขภาพองค์กรวัยทำงาน ตามแบบคัดกรองพฤติกรรมวัยทำงาน THW01 เพื่อประเมินและวิเคราะห์ผลต่อไป
18 ต.ค. 2566
การประชุมพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP)
นางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงาน SHAP เป็นประธานการประชุมพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) พร้อมด้วยคณะ SHAP AGENT กช.กสอ. เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ ZOOM MEETING. จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ไอ-ริช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดชลบุรี 2. บริษัท ซีเค ดิสเพนเซอร์ จำกัด จังหวัดปทุมธานี 3. บริษัท บ้านหมอละออง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี โดยการมีประเมินความพร้อมและความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรแห่งความสุข การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร พร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากเข้าร่วมโครงการ SHAP
18 ต.ค. 2566
การประชุมพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP)
นางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ประธานคณะทำงาน SHAP เป็นประธานการประชุมพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) พร้อมด้วยคณะ SHAP AGENT กช.กสอ. เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ ZOOM MEETING. จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ไอ-ริช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดชลบุรี 2. บริษัท ซีเค ดิสเพนเซอร์ จำกัด จังหวัดปทุมธานี 3. บริษัท บ้านหมอละออง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี โดยการมีประเมินความพร้อมและความมุ่งมั่นในการสร้างองค์กรแห่งความสุข การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร พร้อมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากเข้าร่วมโครงการ SHAP
18 ต.ค. 2566
ร่วมประชุมหารือพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการ SHAP เฟส4 ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP)
วันที่ 28 กันยายน 2566 นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วยนางสาวจินดา ธนาดำรงค์ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. ร่วมประชุมหารือพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการ SHAP เฟส4 ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐาน องค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ณ ห้องประชุมกระจูดชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. การแต่งตั้งคณะทำงาน SHAP กช.กสอ. 2. การถ่ายภาพคณะทำงาน และการลงทะเบียน SHAP AGENT 3. แผนงานและแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม SHAP กช.กสอ 4. วางแผนการดำเนินการสร้างสุขภาวะองค์กร HAPPY DIPROM 5. หลักเกณฑ์และแนวทางในการคัดเลือกสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
18 ต.ค. 2566