นายวัชรุน​ จุ้ยจำลอง​ ผอ.กช.กสอ. ให้เกียรติเป็นประธานเปิด​กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตร​ "การปรับตัวฝ่าวิกฤต​ กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน" ผ่านระบบ​ Online​ โปรแกรม Zoom
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการหลักสูตร "การปรับตัวฝ่าวิกฤต กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน" ผ่านระบบ Online โปรแกรม Zoom โครงการพัฒนาและยกระดับเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ดำเนินการเอง) ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2564 ผลผลิต 130 ราย ณ ห้องแสดงนิทรรศการชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กล้วยน้ำไท) โดยกำหนดให้แบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก กลุ่มไลฟ์สไตล์ ประเภทผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของที่ระลึก มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 70 ราย วัตถุประสงค์เพื่อ สร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ ให้มีศักยภาพ และยกระดับขีดความสามารถ เพื่อให้เกิดแนวคิดการปรับตัวฝ่าวิกฤต ในการปรับสินค้าและบริการ วิเคราะห์การตลาด/การขาย เพื่อการแข่งขันในตลาด New Normal ให้กับผู้ประกอบการ พร้อมก้าวสู่เวทีระดับสากลต่อไป
19 ก.พ. 2564
กสอ. ร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวทางบก
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน เป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวทางบก ในคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา เพื่อนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) และโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Creative Build-up) รวมถึงแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สว.) ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)
17 ก.พ. 2564
กสอ. มอบหมายผู้แทนร่วมคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด(กรุงเทพฯ) ปี 2564
วันที่ 16-17 กุมภาพันธุ์ 2564 นางรัตนาภรณ์ พึ่งบุญไพศาล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด(กรุงเทพฯ) ปี 2564 ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเกษตรพื้นที่ 1- 4 (ระดับอำเภอ)ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้แทนหน่วยงานภาคีคณะกรรมการคัดเลือก 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกวิสาหกิจชุมชนที่มีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและมีการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ และจะนำผลการประกวดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกียรติคุณวิสาหกิจชุมชนที่มีผลงานดีเด่นสู่สาธารณชน ต่อไป
17 ก.พ. 2564
กต.กช.กสอ. กำหนดให้มีการจัดทดสอบ​ระบบ Zoom เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การอบรมเชิงปฏิบัติการ​หลักสูตร​ "การปรับตัวฝ่าวิกฤต​ กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน"
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กำหนดให้มีการจัดทดสอบระบบ Zoom เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การปรับตัวฝ่าวิกฤต กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน" โครงการพัฒนาและยกระดับเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ดำเนินการเอง) ผลผลิต 130 ราย ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom โดยกำหนดให้แบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่1) กลุ่มไลฟ์สไตล์ ประเภทผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย, ของใช้ของที่ระลึก เวลา 14.00 น.2) กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ประเภทผลิตภัณฑ์ คือ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร, อาหารและเครื่องดื่ม เวลา 14.30 น.ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กล้วยน้ำไท) โดยกิจกรรมดังกล่าว จะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 และ 23-25 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ให้มีศักยภาพ และยกระดับขีดความสามารถเพื่อการแข่งขันในตลาด พร้อมแนวคิดปรับตัวฝ่าวิกฤตในกระบวนการคิด ในการปรับสินค้าและบริการเพื่อการแข่งขันในตลาด New Normal
16 ก.พ. 2564
กต.กช.กสอ.​กำหนดให้มีการจัดทดสอบ​ การอบรมเชิงปฏิบัติการ​หลักสูตร​ "การปรับตัวฝ่าวิกฤต​ กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน"
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 กลุ่มส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กำหนดให้มีการจัดทดสอบ การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การปรับตัวฝ่าวิกฤต กับคลื่นลูกใหม่หัวใจชุมชน" โครงการพัฒนาและยกระดับเพิ่มขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ดำเนินการเอง) ผลผลิต 130 ราย ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom โดยกำหนดให้แบ่งผู้ประกอบการออกเป็น 2 กลุ่ม1 กลุ่มไลฟ์สไตล์ ประเภทผลิตภัณฑ์ดังนี้คือ ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้ของที่ระลึก เวลา 14.00 น.2.กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ประเภทผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อาหารและ เครื่องดื่ม เวลา 14.50 น.ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กล้วยน้ำไท) ในการทดสอบระบบครั้งนี้มี นายนนทพัฒน์ วงเศ์เลิศสุวรรณ ให้เกียรติเข้าร่วมพูดคุยและแนะนำตัวเองในการทดสอบระบบครั้งนี้ด้วย
13 ก.พ. 2564
คณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) กช.กสอ.เข้าร่วมประชุม หารือการดำเนินโครงการเครือข่ายสร้างองค์กรแห่งความสุข
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 คณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วย นายวินัยศักดิ์ เหมืองทอง ผู้จัดการโครงการ SHAP ให้เกียรติเข้าร่วมประชุม หารือการดำเนินโครงการเครือข่ายสร้างองค์กรแห่งความสุข เพื่อกำหนดวันการดำเนินกิจกรรมลงนามบันทึกข้อตกลงเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ฯ และชี้แจงวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมจัดทำแผนแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสุขภาวะองค์กร ให้กับสถานประกอบการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 4 กลุ่ม ณ ห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท)
09 ก.พ. 2564
กสอ.จับมือ ราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม หนุนสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เป็นผู้ประกอบการใหม่
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีลงนาม MOU ความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสากรรม และ นายอายุตม์ สินธพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เป็นผู้ลงนาม ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้ ณ อาคารกระทรวงยุติธรรมแห่งใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ให้มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ เฟอร์นิเจอร์เครื่องไม้ เครื่องเรือน เป็นต้น โดยเบื้องต้นจะนำร่องโดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน.และ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
05 ก.พ. 2564
กสอ. หารือ อว. ร่วมเดินหน้าบูรณาการกิจกรรม Creative Build-up ปีที่ 2 กับโครงการยุวชนอาสา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วันที่ 18 มกราคม 2564 กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ร่วมจัดประชุมหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Creative Build-up ปีที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเป็นประธานในการประชุมทั้ง 2 ฝ่าย และมี นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของ กสอ. และ อว. เข้าร่วมประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Creative Build-up ปีที่ 2) ของ กสอ. ร่วมกับแผนงานยุวชนสร้างชาติ โครงการยุวชนอาสา ของ อว. ในการบูรณาการส่งเสริมและสนับสนุนการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผนวกกับทุนทางวัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษามาจัดทำแผนธุรกิจพัฒนาชุมชนในยุค Next Normal เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการตลาด (Marketing Public Relations: MPR) และด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชนในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ให้เกิดการรับรู้และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ยกระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีเป้าหมายผลผลิต 11 ชุมชน ทั่วประเทศ
18 ม.ค. 2564
กช.กสอ.เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่เพื่อรับมือกับการทำงานรูปแบบใหม่
วันที่ 11 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. – 12.00 น. ณ ห้องประชุมกระจูด ชั้น 3 อาคาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ หัวข้อ การใช้ระบบ Zoom เพื่อประชุม /สัมมนา/ฝึกอบรม เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถลงพื้นที่ได้ พร้อมกับการดำเนินงานต้องดำเนินต่อ จึงเห็นว่าในการจัดกิจกรรม เกี่ยวกับการประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย หรือบุคลากรของหน่วยงาน ต้องดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ โดยหนึ่งในระบบออนไลน์ที่เห็นว่าสมควรใช้เป็นเครื่องมือ คือ การใช้ระบบ Zoom ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แต่ละกลุ่มงานของ กช.กสอ. ได้ทำหน้าที่คอยควบคุมการใช้งานระบบดังกล่าว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ กช.กสอ. เข้าร่วมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหัวข้อ ฯ ดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 16 ท่าน
11 ม.ค. 2564
สรุปยอดจำหน่ายและยอดสั่งซื้อภายในงาน OTOP City 2020 ระหว่างวันที่ 19 - 27 ธันวาคม 2563
วันที่ 19 - 27 ธันวาคม 2563 สรุปยอดจำหน่ายและยอดสั่งซื้อภายในงาน OTOP City 2020 ระหว่างวันที่ 19 - 27 ธันวาคม 2563 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี รวมยอดจำหน่ายและยอดสั่งซื้อสะสม 9 วัน ยอดจำหน่าย 7,684,460 บาท ยอดสั่งซื้อ 1,377,580 บาท รวมยอดสุทธิ 9,062,040 บาท รวมยอดจำหน่ายและยอดสั่งซื้อแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์ สะสม 9 วัน ♦️ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย 6,124,560 บาท ♦️ประเภทเครื่องใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึก 2,864,545 บาท ♦️ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 66,050 บาท ♦️ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม 6,885 บาท
28 ธ.ค. 2563